เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล

2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้

week6

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
หน่วย : "พันล้านชีวิตในตัวเรา"
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Quarter 3  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2558
เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิตในดิน ประเภทของดิน รวมทั้งนำความรู้เกี่ยวกับการบำรุงดิน และปรับปรุงดินไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
6
30 .
4ธ.ค. 2558
 โจทย์ :
ดิน และสิ่งมีชีวิตในดิน 
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าดินเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าไม่มีดินจะเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด
Brainstorms ระดมความคิดเกี่ยวกับวิธีการทดลองทดลองดิน
Round Robin แลกเปลี่ยน เกี่ยวกับคำถามและการค้นคว้าข้อมูล
Flow  chart : กระบวนการทดลองดิน

Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน / ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ดินร่วน ดินเหนียว ดินทราย
- เครื่องมือทดสอบดิน
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต
- บริเวณสวนผัก
วันจันทร์
ชง :
- ครูนำดินแต่ละชนิด เช่น ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย มาให้นักเรียนดู จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไร 
- นักเรียนคิดว่ามีประโยชน์อย่างไร
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกัน
- นักเรียนสำรวจสิ่งมีชีวิตในดินแปลง หนึ่งงาน หนึ่งล้านแรงบันดาลใจ  และบริเวณโรงเรียน
- นักเรียนแต่ละคนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้สำรวจ

ชง
ครูกระตุ้นความคิด นักเรียนรู้ได้อย่างไรว่าในดินมีคุณสมบัติหรือองค์ประกอบอะไรบ้าง
ชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกัน
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน  ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทดลองดินบันทึกลงสมุดเล่มเล็ก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลจากการทดลอง
ใช้
- นักเรียนเขียนกระบวนการทดลองดินโดยใช้เครื่องมือคิด Flow chart
วันอังคาร
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอกระบวนการทดลองดิน
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทดลองดินเพื่อหาองค์ประกอบและคุณสมบัติของดิน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกผลการทดลอง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทดลอง  
วันพฤหัสบดี
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในดินมีอะไรบ้าง
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกัน
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในดิน
      - ประเภทของดิน
      - ประโยชน์ของดิน
      - การบำรุงดิน และปรับปรุงดิน
     - อาหารของจุลินทรีย์ในดิน
     - แหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในดิน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลจากการศึกษา
ใช้
- นักเรียนสรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตความรู้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงาน
วันศุกร์
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ชง
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้
- ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
- นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ไขปัญหา อย่างไร
เชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ 
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน :
 - การแสดงความคิด เห็น เกี่ยวกับการคำถามกระตุ้นการคิด
- การสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการค้นคว้าข้อมูล
- การสำรวจสิ่งมีชีวิตในดิน
- การบันทึกข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า
- การศึกษาค้นคว้าข้อมูล
- การนำเสนอชิ้นงาน



ชิ้นงาน :
- เขียนกระบวนการทดลองดินโดยใช้เครื่องมือคิด Flow chart
- บันทึกผลการทดลอง
- ชาร์ตความรู้
- สรุปผลการทดลอง
- Mind Mapping สรุปความเข้าใจ
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิตในดิน ประเภทของดิน รวมทั้งนำความรู้เกี่ยวกับการบำรุงดิน และปรับปรุงดินไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
- สามารถคิดเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็น สู่การเรียนรู้และการดำรงชีวิตผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลายได้
ทักษะการเรียนรู้
มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปความเข้าใจผ่านชาร์ตความรู้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน
-  คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหา

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความกระตือรือร้นในการทำงาน

ตัวอย่างกิจกรรม
















1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ได้เรียนเกี่ยวกับดินในวันแรกครูได้เปิดวีดีโอตั้งเเต่กำเนินขอมาจากไหนก่อนเปิดครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดว่าดินเกิดจากอะไร เช่นพี่ออดี้เกิดจากการผุกร่อนของหิน พี่เบนช์การทับถมของซากพืชซากสัตว์ พี่เหน่งการผุกร่อนของพอสซิว จากนั้นครูเปิดคลิปวีดีโอเกี่ยวกับกำเนิดของดิน จากนั้นนักเรียนได้เเลกเปลี่ยนกันจากสิ่งที่ได้ดูคลิป เช่นพี่อ้อเเอ้ดินเกิดจากการผุกร่อนของหินโดยอาศัยปัจจัยหลายอย่างเช่น ลม อากาศ น้ำ พี่ไข่มุกปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดินเช่น ลักษณะภูมิประเทศ พี่ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับดิน จากนั้นครูให้นักเรียนสำรวจดินที่อยู่รอบๆบริเวณบ้านของตัวเอง นักเรียนนำข้อมูลมามาเเลกเปลี่ยนกันเช่น พี่หลุยส์พบเชื้อรา พี่โอ๊คพบมด พี่ตุ๊กตาพบตะไคน้ำ ครูให้นักเรียนแบ้งกลุ่มๆละ4คนจากนั้นศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทดสอบดินเพื่อหาองค์ประกอบของดิน นักเรียนแต่ละกลุ่มนำอุปกรณ์มาทดลองระหว่างที่ทดลองนักเรียนได้บันทึกผลการทดลองด้วย จากนั้นนักเรียนได้นำข้อมูลจากการทดลองมาเเลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เช่นพี่หลุยส์สังเกตเห็นถุงพสาลติกที่ใส่ดินทรายมีความร้อนมากกว่าดินประเภทอื่นๆพี่พิมพ์ดินทรายคายไอน้ำมากกว่าดินอื่นๆ พี่อุ้มจุ้ยในแก้วที่ใส่ดินทรายสังเกตเห็นฟองสีขาว พี่ชาติสังเกตเห็นใบไม้ ไม้ที่ผุ จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดว่าดินประเภทไหนที่มีการถ่ายเท่อากาศได้มากที่สุด พี่หลุยส์ดินร่วนเพราะมีช่องว่างในการถ่ายเท่อากาศ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมการทดลองดิน เช่นพี่เบ้นซ์การสังเกต พี่ไก่รู้จักความเเตกต่างของดินเเต่ละประเภท พี่เดียรได้รู้เกี่ยวกับคุณภาพของดินที่นำไปใช้ประโยชน์ ต่อมาพี่ๆม.2ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทดสอบดินโดยนักเรียนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่1 ศึกษาเกี่ยวกับค่า pH ความเป็นกรด ด่าง กลุ่มที่ 2 ศึกษาเกี่ยวกับการหาสารอินทรีย์ในดิน จากนั้นพี่แต่ละกลุ่มได้เตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง โดยนักเรียนจะนำดินจากทุ่งนา ดินในแปลงผัก ดินที่อยู่ในกระถางต้นไม้ ระหว่างที่มีการทดลองนักเรียนได้บันทึกการเปลี่ยนแปลง จากนั้นนำข้อมูลมาสร้างเป็น Flow chart นำเสนอชิ้นงาน เช่น พี่โอ๊คได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสังเกต พี่ดิวได้เรียนรู้ว่าการทดลองเพื่อสำรวจหาความอุดมสมบูรณ์ของดิน พี่ไข่มุกดินในแปลงผักเมื่อเราทดลองจะมีค่ากลาง คือ 7.00 พี่พิมพ์ข้อระวังในการทดลองเช่น ทดลองไกลจากมือเด็ก และสัตว์ เป็นต้น จากนั้นพี่ๆได้สรุปสัปดาห์ที่6 ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ม.2 ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

    ตอบลบ