แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
หน่วย : "พันล้านชีวิตในตัวเรา"
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Quarter 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2558
เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจกระบวนการเรียนรู้
และสามารถออกแบบวางแผนการเรียนรู้และการทำงานตามความความสนใจได้อย่างเป็นขั้นตอนและน่าสนใจ
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
2
2 – 6
พ.ย.
2558
|
โจทย์ :
การออกแบบและวางแผนการเรียนรู้
- เลือกหัวข้อ
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind mapping ก่อนเรียน
Key
Questions :
-
นักเรียนได้เรียนรู้อะไร เห็นอะไร และรู้สึกอย่างไร
จากสิ่งที่ได้ดู - นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการไม่แปรงฟัน
-
นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
Card & Chart : เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Think Pair Share : สิ่งที่รู้แล้วและ
สิ่งที่อยากรู้
Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
Mind Mapping : สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
Blackboard Share : การตั้งชื่อโครงงาน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
-
คลิป กำเนิดของโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
- บทความ สิ่งมหัศจรรย์โลกจุลินทรีย์
- ห้องสมุด
- บรรยากาศในห้องเรียน
|
วันจันทร์
ชง :
- นักเรียนดูคลิป
กำเนิดของโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งมวล และนิทานชีวิต กำเนิดชีวิต
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไร เห็นอะไร และรู้สึกอย่างไร จากสิ่งที่ได้ดู เชื่อม :
-
ครูและนักเรียนวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำเนิดของโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
และร่วมกัน
วันอังคาร
ชง :
-
นักเรียนอ่านบทความ สิ่งมหัศจรรย์โลกจุลินทรีย์
เชื่อม :
ที่ได้อ่านและดูจากนั้นเขียนสรุปลงในกระดาษชาร์ต
-
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอการวิเคราะห์บทความให้เพื่อนและครูฟัง
วันพฤหัสบดี
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตเล็กเกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างไร
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกัน
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร
เชื่อม :
-
ครูแจกกระดาษการ์ดให้นักเรียนแต่ละคน
โดยให้นักเรียนเขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้ โดย 1 เรื่อง ต่อการ์ด 1 แผ่น(Card &
Chart)
- ครูและนักเรียนร่วมกันจัดหมวดหมู่เรื่องที่ต้องการศึกษา
-
นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
(Think pair Share)
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- นักเรียนคิดว่าควรจะตั้งชื่อ หน่วย นี้ให้น่าสนใจได้อย่างไร
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกันตั้งชื่อหน่วย
(Blackboard Share)
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้(รายบุคคลลงกระดาษ A4) (Think pair Share)
วันศุกร์
ใช้ :
- นักเรียนร่วมกันนำสิ่งที่อยากเรียนรู้มาออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ลงในกระดาษชาร์ต
และเขียนสรุปองค์ความรู้ ก่อนการเรียนรู้ในรูปแบบ Mind
Mapping
เชื่อม :
-
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน :
- การวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามและความคิดเห็นที่ได้ฟังและอ่าน - การตั้งชื่อหัวข้อ Topic
-
การวิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน
-
การออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
- การสรุป Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้
ชิ้นงาน :
-
หัวข้อโครงงาน
-
สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน
-
ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind
Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ :
สามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่านการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว, Mind mapping และสามารถออกแบบวางแผน
กระบวนการเรียนรู้ตลอด 20สัปดาห์ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
-
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
ทักษะการเรียนรู้
มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ Mind Mapping ก่อนเรียน
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน
- คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหา
คุณลักษณะ
-
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
-
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-
กล้าแสดงความคิดเห็น
-
มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
|
ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์นักเรียน
ตัวอย่างภาพกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียน
ในสัปดาห์นี้พี่ม.2 ได้ดูคลิปกำเนิดของโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งมวล และนิทานชีวิตกำเนิดชีวิต จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด และรู้สึกอย่างไรจากสิ่งที่ได้ดู
ตอบลบครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำเนิดของโลกและสิ่งมีชีวิต
นักเรียนอ่านบทความ สิ่งมหัศจรรย์โลกจุลินทรีย์แล้วแบ่งกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์บทความพร้อมทั้งเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับจุลินทรีย์แล้วสรุปลงในกระดาษชาร์ต พร้อมทั้งนำเสนอการวิเคราะห์บทความให้เพื่อนๆและครูฟัง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตเล็กๆเกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างไรบ้าง
พี่ร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเล็กๆมีการดำรงชีวิต-เกื้อกูลกัน เป็นเพื่อนร่วมโลก เป็นสิ่งที่ใช้ในการเรียนรู้
จากนั้นพี่ ม.2 ร่วมกัน เขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ ร่วมกันจัดหมวดหมู่เรื่องที่อยากเรียนพร้อมทั้งตั้งชื่อหน่วย PBL เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ร่วมกันพร้อมทั้งนำเสนอให้เพื่อนและครูฟัง ครูช่วยเพิ่มเติมเนื้อหาเพื่อให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นครูใช้ แต่ละคนสรุปการเรียนรู้ก่อนเรียน เพื่อจะได้รู้ความเข้าใจหรือพื้นฐานของแต่ละคน นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์