เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล

2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้

week5

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
หน่วย : "พันล้านชีวิตในตัวเรา"
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Quarter 3  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2558
เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจกระบวนการทำงานของจุลินทรีย์ และสามารถนำจุลินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
5
22 – 26
พ.ย. 2558
 โจทย์
- การทำงานของจุลินทรีย์
Key  Questions
- จุลินทรีย์มีกระบวนการทำงานอย่างไร เราจะนำจุลินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Think  Pair Share
Brainstorms
Round Robin
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิป การย่อยสลายของแอปเปิ้ล
- คลิปจุลินทรีย์ก็เป็นอาหารได้
- อินเตอร์เน็ต
- แกนข้าวโพด ขนมปัง ข้าวเหนียวที่ขึ้นรา
- กล้องจุลทรรศน์


วันจันทร์
ชง :
- ครูพานักเรียนเล่นเกมบันไดลิงจากนั้น
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมในครั้งนี้ 
เชื่อม
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
ชง
ครูเปิดคลิปการย่อยสลายของแอปเปิ้ลจากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมในครั้งนี้ 
- นักเรียนคิดว่าอะไรที่ทำให้แอปเปิ้ลมีการย่อยสลาย


เชื่อม
- ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากการดูคลิปวีดีโอ
ใช้
นักเรียนสรุปความเข้าใจจากการดูคลิปโดยผ่านชิ้นงานการ์ตูนช่อง
วันอังคาร
ชง
- ครูนำแกนข้าวโพด ก้อนเห็ด ข้าวเหนียว ขนมปัง เมล็ดพันธุ์ ที่ขึ้นรา มาให้นักเรียนสังเกต จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไร
- นักเรียนคิดว่าเชื้อราที่นักเรียนเห็นมันเกิดจากอะไร
เชื่อม 
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันและกันเกี่ยวกับข้าวโพด เห็ด ข้าวเหนียว ที่ขึ้นรามา
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าเราจะ สามารถดูจุลินทรีย์ที่อยู่ในเกนข้าวโพด ก้อนเห็ด ข้าวโพด เมล็ดพันธุ์ได้อย่างไร
เชื่อม
- ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่นรซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการดูจุลินทรีย์ที่อยู่ในเกนข้าวโพด ก้อนเห็ด ข้าวโพด ขนมปัง เมล็ดพันธุ์ได้อย่างไร
- ครูพานักเรียนส่องแกนข้าวโพด  ข้าวเหนียว  ก้อนเห็ด ขนมปัง เพื่อดูลักษณะของจุลินทรีย์
- นักเรียนแต่ละคนบันทึกสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากการส่องดูลักษณะของจุลินทรีย์
- ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
ใช้
นักเรียนสรุปความเข้าใจผ่านนิทาน
วันพฤหัสบดี
ชง
- ครูนำคลิปวีดีโอมาเปิดให้นักเรียนดู เกี่ยวกับ  จุลินทรีย์ก็เป็นอาหารได้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด นักเรียนคิดว่าทำไมจุลินทรีย์ถึงสมารถแปรสภาพตัวเองแล้วกลายเป็นอาหารให้เรารับประทานได้
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกัน
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของจุลินทรีย์ที่มีต่อการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ ร่างกาย
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลจากการศึกษา
ใช้
- นักเรียนสรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตความรู้
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ถ้านักเรียนจะทดลองเกี่ยวกับจุลินทรีย์นักเรียนจะทดลองเรื่องอะไรเพราะเหตุใด
เชื่อม
- ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
- นักเรียนแบ่งกลุ่มค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการทดลอง
วันศุกร์
เชื่อม
- ครูพานักเรียน ทดลองการย่อยสลายของจุลินทรีย์ (ใบไม้ กิ่งไม้  ซากสัตว์กระดาษทิชชู เศษอาหาร  )
- ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
- ครูให้นักเรียนกลุ่มเดิมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของจุลินทรีย์ (รา แบคทีเรีย ไวรัส  ยีสน์)นักเรียนบันทึกข้อมูลลงในสมุดเล่มเล็ก
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ 

ภาระงาน :
 - การแสดงความคิด เห็น เกี่ยวกับการคำถามกระตุ้นการคิด
- การดูคลิปวีดีโอ
- กระบวนการทดลองส่องจุลินทรีย์
- การสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการค้นคว้าข้อมูล
- การบันทึกข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า
- การศึกษาค้นคว้าข้อมูล
- การนำเสนอชิ้นงาน
ชิ้นงาน :
- สรุปความเข้าใจผ่านนิทานและการ์ตูนช่อง
- สรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตความรู้
- บันทึกผลการทดลอง
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจกระบวนการทำงานของจุลินทรีย์ และสามารถนำจุลินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตได้
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
- สามารถคิดเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็น สู่การเรียนรู้และการดำรงชีวิตผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลายได้
ทักษะการเรียนรู้
มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปความเข้าใจผ่านชาร์ตความรู้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
นำเนื่อหาที่ได้จากการค้นคว้ามาสร้างสรรค์ชิ้นงานผ่านนิทานและการ์ตูนช่อง
คุณลักษณะ
- มีความตั้งใจในการเรียนรู้
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความกระตือรือร้นในการทำงาน

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์



ตัวอย่างภาพกิจกรรมการเรียนรู้




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์พี่ๆม.2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกากรทำงานของจุลินทรีย์ในวันแรกครูเปิดคลิปวีดีโอเกี่ยวการย่อยสลายของแอปเปิ้ล สตอเบอรี่ กล้วย เห็ด จากนั้นพี่ได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้สิ่งเหล่านี้ย่อยสลายพร้อมกับเกิดการเน่า เช่นพี่ชาติเกิดจากอากาศ พี่โพสเกิดจากเปลือกดูดสารอาหารไปใช้ พี่อุ้มเกิดจากอุณหภูมิ จากนั้นครูให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการย่อยสลายของผลไม้หรืออาหาร จากนั้นพี่ๆ ม.2 ได้นำข้อมูลมาพูดคุยแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเช่นพี่ตุ๊กตาเกิดจากเอนไซค์ช่วยในการย่อยสลาย พี่เดียรเกิดจากสารพิษและการขนส่ง พี่เบ้นเกิดจากจุลินทรีย์ช่วยในการย่อยสลาย พี่พิมพ์เกิดจากจุลินทรีย์บางชนิดทำให้เกิดการเน่าเหม็น ครูให้นักเรียนแต่ละคนได้เตรียมขนมปัง เชื้อเห็ด แกนข้าวโพด และขาวเหนียวที่ขึ้นรามาทดลองส่องดูรา สาเหตุพบว่าสิ่งที่เตรียมมาไม่ขึ้นราอาจจะเกิดจากอุณหภูมิหรือการเก็บรักษา ครูให้นักเรียนส่องดูราจากแผ่นเชื้อราสำเร็จ และราที่เกิดจากขนมปัง แต่พบปัญหาคือกล้องจุลทรรศน์ที่ส่องมีปัญหาในเรื่องของอุปกรณ์ จากนักเรียนได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาคือ การหากิจกรรมใหม่มาทำแทน ในวันนั้นพี่ๆได้เล่นเกมการต่อ DNA และ RNA และพี่ได้ทำสรุปสัปดาห์ในสัปดาห์นี้พี่ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

    ตอบลบ