เป้าหมาย (Understanding Goal) :

1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล

2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้

week8

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ อธิบายถึงสาเหตุที่ทำน้ำหมักชีวภาพ และสามารถทำน้ำหมักชีวภาพใช้เองได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
8
14 – 18
ธ.ค.2558
โจทย์
การทำน้ำหมักชีวภาพ
Key  Questions
- การทำน้ำหมักชีวภาพมีกระบวนการอย่างไรบ้าง
- การทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง
มีความสำคัญอย่างไร

เครื่องมือคิด
Brainstorms ระดมความคิดเกี่ยวกับจุลินทรีย์ทำอะไรได้บ้าง
Round Robin แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการดูคลิป/สิ่งที่ได้เรียนรู้
Flow chart การทำน้ำหมักชีวภาพ
 Show and share นำเสนอชิ้นงาน
Wail thinking เผยแพร่ชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
ห้องเรียน
อุปกรณ์การทำน้ำหมัก
- คลิปวีดีโอ
อินเตอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนคิดว่า จุลินทรีย์สามารถทำอะไรได้บ้าง เพราะเหตุใด ?
เชื่อม :
ครูนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามในขั้นชง
ชง :
- ครูเปิดคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร    ปัญหาน้ำเน่าเสีย   
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการดูคลิป/นักเรียนจะมีวิธีการในการแก้ไขปัญหาอย่างไร และส่งผลกับการตัวเรา สังคมอย่างไร ?
เชื่อม :
ครูนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่ง
ที่ได้จากการดูคลิป
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนรู้จักน้ำหมักชีวภาพอะไรบ้าง และมีวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพได้อย่างไร
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกันเกี่ยวกับคำถามกระตุ้นการคิดในขั้นชง
ชง :
ครูเปิดคลิปเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพโดยใช้สมุนไพร
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกันเกี่ยวกับคำถามกระตุ้นการคิดในขั้นชง
- นักเรียนแบ่งกลุ่มๆ ละ คน จากนั้น
ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ
วันอังคาร
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำความรู้จากการศึกษาค้นคว้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน
ชง :
ครูเปิดคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวะภาพจากปลวก
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการดูคลิป นักเรียนคิดว่าทำไมปลวกถึงนำมาเป็นน้ำหมักชีวภาพได้ เพราะเหตุใด ?
เชื่อม :
- ครูนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำถามในขั้นชง
- วางแผน เตรียมอุปกรณ์ในการทำน้ำหมักชีวภาพในคาบหน้า
ใช้ :
นักเรียนแตะลกลุ่ม เขียน Flow chartการะบวนการทำน้ำหมักชีวภาพ
วันพฤหัสบดี
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำน้ำหมักชีวภาพ
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง ปัญหาอุปสรรคที่เจอ นักเรียนจะมีวิธีการในการแก้ไขปัญหาได้อย่างไร ?
ใช้ :
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากการทำน้ำหมักชีวภาพ
วันศุกร์
ชง :
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้
- นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ไขปัญหา อย่างไร?
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ผ่านคำถาม
ในขั้นชง
ใช้ :
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  8
ภาระงาน
- การศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำน้ำหมักชีวภาพ
- การแลกเปลี่ยนข้อมูลจากการค้นคว้า
- การทำน้ำหมักชีวภาพ
- การสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- การเตรียมอุปกรณ์ในการทำน้ำหมักชีวภาพ
ชิ้นงาน
- น้ำหมักชีวภาพ
- ขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่8
ความรู้ :
เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ อธิบายถึงสาเหตุที่ทำน้ำหมักชีวภาพ และสามารถทำน้ำหมักชีวภาพใช้เองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
สามารถนำผักพื้นบ้านที่อยู่รอบบ้านมาใช้ในการประกอบอาหารได้
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
- สามารถคิดเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็น สู่การเรียนรู้และการดำรงชีวิตผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลายได้
ทักษะการเรียนรู้
- มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ  
 มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
ทักษะการสื่อสาร
- ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้คนอื่นเข้าใจได้
- สามารถพูดอธิบายนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปความเข้าใจผ่าน Flow  chart
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน
-  คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหา
คุณลักษณะ
- มีจิตสาธารณะในการช่วยเหลือคนอื่น
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความกระตือรือร้นในการทำงาน

ตัวอย่างกิจกรรม











ตัวอย่างชิ้นงาน


1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ม. 2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการหมักน้ำชีวภาพและโรคที่เกี่ยวกับการสารเคมีโดยครูใช้กิจกรรมที่หลากหลายเช่น เกมท้ายโรคที่รู้จัก ดูคลิปวีดีโอ ในวันแรกพี่ๆ ม.2ได้ดูคลิปเกี่ยวกับโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้เกิดโรคตามมาจากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าสาเหตุสำคัญเกิดจากอะไร พี่ชาติเกิดจากการใช้สารเคมีในการเกษตรเมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไปก็จะทำให้ร่างกายเราได้รับสารพิษและสะลมในร่างกายของเรา ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูวันนี้ พี่ไข่มุกรู้จักเกี่ยวโทษที่ใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อตัวเอง คนที่อยู่รอบข้าง และทรัพยากรธรรมชาติ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าจุลินทรีย์สามารถทำอะไรได้บ้าง พี่ออดี้ช่วยปรับสภาพดี พี่โอ๊ดทำปุ๋ยหมัก พี่พิมพ์ทำเป็นนมและขนมปัง จากนั้นครูให้นกเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำปุ๋ยน้ำหมัก จากนั้นนำเสนอให้เพื่อฟัง วันต่อมาพี่ได้ดูคลิปเกี่ยวกับโรคที่เป็นโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ตลอดจนโรคที่เกิดจากพันธุกรรมให้นักเรียนดูครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดหลังจากดูคลิปวีดีโอจบเช่นโรคติดต่อที่นักเรียนรู้จักมีโรคอะไรบ้าง พี่เบ้นโรคเอดส์ โรคเท้าช้าง โรควัณโรค ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียนนักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากคลิปในวันนี้เช่นพี่ตุ๊กตา โรคพันธุกรรมเช่นโรคธาลัลซีเมีย โรคดักแด้ โรคเท้าแสนปม ซึ่งเกิดจากการผิดลักษณะของโครโมโชมและยีนส์ทางพันธุกรรม จากนั้นนักเรียนไว้เตรียมอุปกรณ์เพื่อทำปุ๋ยหมักในวันนี้พี่ๆม.2ได้ช่วยกันทำปุ๋ยน้ำหมักโดยแต่ละกลุ่มก็จะแตกต่างกันมีน้ำหมักจากต้นกล้วย น้ำหมักจากสมุนไพรใบไม้ และน้ำหมักจากเศษอาหาร และพี่ได้เขียนFlow chart ขั้นตอนในการทำปุ๋ยน้ำหมัและนำเสนอให้เพื่อนและครูฟังในสัปดาห์นี้พี่ๆได้เรียนอย่างมีความสุข

    ตอบลบ